วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

ดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของโลก

            ผู้ริเริ่มแนวคิดการสื่อสารดาวเทียมคือ อาเธอร์ ซี คลาร์ก (Arthur C. Clarke) นักเขียนนวนิยายและสารคดีวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาสร้างจินตนาการการสื่อสารดาวเทียมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 โดยเขียนบทความเรื่อง "Extra Terrestrial Relay" ในนิตยสาร Wireless World ฉบับเดือนตุลาคม 1945 ซึ่งบทความนั้นได้กล่าวถึงการเชื่อมระบบสัญญาณวิทยุจากมุมโลกหนึ่งไปยังอีกมุมโลกหนึ่ง ให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้สถานีถ่ายทอดวิทยุที่ลอยอยู่ในอวกาศเหนือพื้นโลกขึ้นไปประมาณ 35,786 กิโลเมตร จำนวน 3 สถานี
           4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 สหภาพโซเวียต ส่ง สปุตนิก 1 (Sputnik 1) ดาวเทียมดวงแรกของโลก ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกด้วยจรวดอาร์-7 (R-7) จากศูนย์อวกาศไบร์โคนูร์ คอสโมโดรม ในประเทศคาซัคสถาน สปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมในโครงการสปุตนิก (Sputnik Programe) สปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมรูปร่างกลม มีเส้นผ้าศูนย์กลาง 58 เซนติเมตร หนักประมาณ 83 กิโลกรัม มีเสารับ-ส่งสัญญาณอยู่ 2 เสา ภารกิจคือการสำรวจพื้นผิวของโลกและชั้นบรรยากาศ ปฏิบัติภารกิจบนอวกาศโดยโคจรอยู่ห่างจากพื้นผิวโลกประมาณ 250 กิโลเมตร ภารกิจมีระยะเวลา 3 เดือน เมื่อแบตเตอรีหมด ดาวเทียมจะเผาไหม้ตัวเองและชิ้นส่วนบางชิ้นตกลงมาบนผิวโลกเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2501 สปุตนิก 1 นับเป็นความภูมิใจของชาวรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้นำแห่งวิทยาศาสตร์อวกาศ ในสมัยนั้นสหรัฐอเมริกายังมีเทคโนโลยีด้อยกว่า เมื่อสปุตนิกลอยบนฟากฟ้าก็ตกใจเพราะกลัวว่าดาวเทียมโซเวียตจะบรรทุกระเบิดนิวเคลียร์มาถล่ม โครงการสปุตนิกนับเป็นการเริ่มต้นยุคแห่งการแข่งขันด้านอวกาศ ปัจจุบันได้มีการสร้างดาวเทียมสปุตนิกจำลองแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์อวกาศในประเทศรัสเซีย พิพิธภัณฑ์อวกาศแห่งสถาบันสมิธโซเนียน อเมริกา และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ กรุงลอนดอน อังกฤษ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น