วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

จุดเริ่มต้นของดาวเทียมและก้าวประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ



             นักเขียนนวนิยายและเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ผู้ริเริ่มแนวคิดด้านสื่อสารผ่านดาวเทียม คือ นายอาเธอร์  ซี.คลาค ( Arthur  C.Ciarke ) เมื่อปี พ.ศ. 2488 ได้เสนอความคิดที่จะใช้สถานีดาวเทียมซึ่งลอยอยู่กับที่ในอวกาศ เหนือตำแหน่งเส้นศูนย์สูตร ที่ความสูงจากพื้นโลก 35,800 กิโลเมตร การโคจรของดาวเทียมมีความเร็วหนึ่งรอบ เท่ากับ 24 ชั่วโมง เท่ากับโลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ความคิดนี้ไม่มีใครสนใจคิดว่าเป็นเรื่องเพ้อฝันที่เป็นจริงไม่ได้ ใน ที่สุดมีคนนำความคิดนี้มาสานต่อ และเป็นจริงเมื่อรัสเซียมีการยิงดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศดวงแรกที่ชื่อ สปุตนิก เมื่อปี พ.ศ. 2500 ถือเป็นก้าวแรกแห่งการพัฒนาดาวเทียมของโลก
             ใน ปี พ.ศ. 2505 ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ส่งดาวเทียมชื่อว่า เทลสตาร์ 1 (Telstar 1)  ดาวเทียมดวงนี้ถือว่าเป็นดาวเทียมดวงแรกที่ใช้ในการสื่อสารอย่างแท้จริง และต่อมา ปี 2508 ได้มีการส่งดาวเทียมมีชื่อว่า เออลี่เบิร์ด (Early Bird) เป็นดาวเทียมเชิงพาณิชย์ดวงแรก มีช่องสัญญาณเกี่ยวกับโทรทัศน์เทเล็กซ์ข่าวสารต่างๆรวมทั้งรายการโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดข้ามทวีป 



   
             เมื่อวันที่ 12 พ.ย.2014ที่ผ่านมา ต้องถือเป็นวันที่ บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่องค์การอวกาศยุโรป ( European Space Agency ) หรือ ESA (อีซา) ส่งเสียงเฮดังลั่น ด้วยความปลาบปลื้มดีใจกันอย่างที่สุด เมื่อยานสำรวจฟีเล ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ในการลงจอดบนดาวหาง 67 พี/เซอร์ยูมอฟ เจราซีเมนโก เมื่อเวลา 16.03 น. ของวันที่ 
12 พ.ย.2014 ตามเวลามาตรฐานสากล หรือตรงกับ 23.03 น. ของวันเดียวกัน ตามเวลาในประเทศไทย

         เหตุการณ์นี้ ต้องถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ  ที่นักวิทยาศาสตร์ด้านอวกาศ สามารถส่งยานสำรวจไปลงบนดาวหางได้สำเร็จ หลังจากทีมนักวิทยาศาสตร์ในโครงการนี้ ที่ อีซา ได้เฝ้ารอคอยและติดตาม ด้วยความใจจดใจจ่อ นับตั้งแต่มีการส่งยานสำรวจอวกาศฟีเล ขึ้นไปกับ ยานแม่โรเซ็ตต้าเพื่อปฏิบัติภารกิจนี้ มายาวนานนับ 10 ปี
        ลองจินตนาการ นึกภาพความสำเร็จที่แสนจะยิ่งใหญ่ครั้งนี้ดูว่า ยานอวกาศโรเซ็ตต้าลำนี้ ต้องเดินทางรอนแรมอันยาวไกลไปในห้วงอวกาศที่เวิ้งว้าง ว่างเปล่า และแสนจะมืดมิด เพื่อติดตามไล่ล่าดาวหาง 67 พี เป็นระยะทางไกลถึง 6,400 ล้านไมล์ ก่อนจะสามารถเข้าสู่วงโคจรของดาวหางนี้เมื่อช่วงต้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา
      ‘ลอแรงซ์​ โอรูควิศวกรด้านระบบการลงจอดของยานฟีเล ประจำอีซา กล่าวกับผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็นถึงความสำเร็จในการที่ยานฟีเลสามารถลงจอดบนดาวหาง 67 พีได้อย่างนุ่มนวล ไม่ได้กระแทกรุนแรงจนทำให้ตัวยานและอุปกรณ์ได้รับความเสียหาย ว่า เป็นเพราะ ยานแม่ โรเซ็ตต้าได้เข้าสู่วงโคจรของดาวหาง 67 พี ในตำแหน่งที่ถูกต้อง จนทำให้ยานสำรวจ ฟีเล ไม่มีการพุ่งเข้าใส่ดาวหาง จึงสามารถลงจอดบนดาวหางได้อย่างอิสระ ในวิถีโคจรที่ถูกต้อง
ที่น่าทึ่งคือ ยานสำรวจฟีเล นั้น มีขนาดพอๆ กับเครื่องซักผ้าเครื่องหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่ได้ใหญ่โตอะไรเลย โดยมีน้ำหนักเพียงแค่ราว 220 ปอนด์ ส่วนดาวหาง 67 พี ก็มีเส้นผ่าศูนย์กลาง เพียงแค่ 4 กิโลเมตรเท่านั้น


          ที่สำคัญ ตอนนี้ ไม่ใช่เพียงแต่บรรดาทีมนักวิทยาศาสตร์ ที่ทำงานอยู่ที่อีซาเท่านั้น ที่กำลังรอคอยด้วยความตื่นเต้น แต่ชาวโลกทั้งหลายก็อยากจะรู้ว่า ยานสำรวจฟีเล จะส่งข้อมูลอะไรบ้างที่พบบนดาวหาง 67 พี กลับมายังโลก!

ยานสำรวจฟีเล ลอยอยู่ในห้วงอวกาศก่อนลงจอดบนดาวหาง 67 พี
             ด้าน อแลสแตร์ เรย์โนลด์ นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ แนวไซไฟ กล่าวถึงความสำเร็จของการส่งยานฟีเลไปลงจอดบนดาวหาง 67 พี ว่า นี่คือนิยายวิทยาศาสตร์ที่กลายเป็นเรื่องจริง.. เพียงแต่ขณะนี้ โครงการโรเซ็ตต้าก็ยังกำลังขยับเข้าใกล้คำตอบของคำถามในนิยายวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ พวกเราอยู่กันเพียงลำพังในห้วงจักรวาลนี้หรือไม่
            โดยขณะนี้ ดาวหาง 67 พี อยู่ห่างจากโลกของเรา 500 ล้านกิโลเมตร และจากภาพถ่ายที่ ยานโรเซ็ตต้าส่งกลับมายังโลกในภารกิจตามไล่ล่าดาวหางดวงนี้ ซึ่ง มีการโคจรรอบดวงอาทิตย์นั้น ได้สร้างความตื่นตะลึงให้แก่นักวิทยาศาสตร์มาก
           ส่วนยานสำรวจฟีเลนั้น ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆในการถ่ายภาพ และเก็บตัวอย่างของดินหรือหินบนพื้นผิวดาวหาง 67 พี ซึ่งถูกค้นพบตั้งแต่เมื่อปี 2512 และคาดว่ามันก่อกำเนิดขึ้นมาในช่วงเวลาเดียวกับระบบสุริยะของเรา
เท่าที่เคยมีการบันทึกในประวัติศาสตร์กันมา ยังไม่มียานอวกาศลำไหนให้ข้อมูลได้มากเท่ากับยานโรเซ็ตต้าเลย อีกทั้ง ยังไม่มียานสำรวจลำใด สามารถลงจอดบนดาวหางได้อย่างที่ยานฟีเลเพิ่งจะทำสำเร็จเช่นกันเอลเลน สโตฟาน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์นาซา กล่าวด้วยความประทับใจกับความสำเร็จที่แสนจะยิ่งใหญ่ในภารกิจครั้งนี้ของยานฟีเล.

 เส้นทางโคจรของยานโรเซ็ตตาในการไล่ล่าติดตามดาวหาง 67 พี










ดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของโลก

            ผู้ริเริ่มแนวคิดการสื่อสารดาวเทียมคือ อาเธอร์ ซี คลาร์ก (Arthur C. Clarke) นักเขียนนวนิยายและสารคดีวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาสร้างจินตนาการการสื่อสารดาวเทียมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 โดยเขียนบทความเรื่อง "Extra Terrestrial Relay" ในนิตยสาร Wireless World ฉบับเดือนตุลาคม 1945 ซึ่งบทความนั้นได้กล่าวถึงการเชื่อมระบบสัญญาณวิทยุจากมุมโลกหนึ่งไปยังอีกมุมโลกหนึ่ง ให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้สถานีถ่ายทอดวิทยุที่ลอยอยู่ในอวกาศเหนือพื้นโลกขึ้นไปประมาณ 35,786 กิโลเมตร จำนวน 3 สถานี
           4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 สหภาพโซเวียต ส่ง สปุตนิก 1 (Sputnik 1) ดาวเทียมดวงแรกของโลก ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกด้วยจรวดอาร์-7 (R-7) จากศูนย์อวกาศไบร์โคนูร์ คอสโมโดรม ในประเทศคาซัคสถาน สปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมในโครงการสปุตนิก (Sputnik Programe) สปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมรูปร่างกลม มีเส้นผ้าศูนย์กลาง 58 เซนติเมตร หนักประมาณ 83 กิโลกรัม มีเสารับ-ส่งสัญญาณอยู่ 2 เสา ภารกิจคือการสำรวจพื้นผิวของโลกและชั้นบรรยากาศ ปฏิบัติภารกิจบนอวกาศโดยโคจรอยู่ห่างจากพื้นผิวโลกประมาณ 250 กิโลเมตร ภารกิจมีระยะเวลา 3 เดือน เมื่อแบตเตอรีหมด ดาวเทียมจะเผาไหม้ตัวเองและชิ้นส่วนบางชิ้นตกลงมาบนผิวโลกเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2501 สปุตนิก 1 นับเป็นความภูมิใจของชาวรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้นำแห่งวิทยาศาสตร์อวกาศ ในสมัยนั้นสหรัฐอเมริกายังมีเทคโนโลยีด้อยกว่า เมื่อสปุตนิกลอยบนฟากฟ้าก็ตกใจเพราะกลัวว่าดาวเทียมโซเวียตจะบรรทุกระเบิดนิวเคลียร์มาถล่ม โครงการสปุตนิกนับเป็นการเริ่มต้นยุคแห่งการแข่งขันด้านอวกาศ ปัจจุบันได้มีการสร้างดาวเทียมสปุตนิกจำลองแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์อวกาศในประเทศรัสเซีย พิพิธภัณฑ์อวกาศแห่งสถาบันสมิธโซเนียน อเมริกา และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ กรุงลอนดอน อังกฤษ







ดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของไทย



     ดาวเทียมไทยคม (THAICOM) ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536
             17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ดาวเทียมไทยคม (THAICOM) ดาวเทียมดวงแรกของไทย ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรจากฐานส่งของบริษัท แอเรียนสเปซ (Arianespace) แห่งฝรั่งเศส ที่เมืองคูรู (Kourou) ประเทศเฟรนช์ เกียนา (French Guiana) ทวีปอเมริกาใต้ สร้างโดยบริษัท ฮิวจ์ สเปซ แอร์คราฟท์ (Hughes Space Aircraft) ของสหรัฐอเมริกา เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม รองรับการสื่อสารของประเทศที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว สามารถถ่ายทอดทั้งสัญญาณโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรศัพท์ และการสื่อสารข้อมูล มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)  ทั้งนี้ ชื่อ "ไทยคม" เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจากคำว่า Thai Communications ในภาษาอังกฤษ หรือไทยคม (นาคม) เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก เรียกชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทยคม 1A"
           ดาวเทียมไทยคม เป็นโครงการ ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม ซึ่งกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) ต้องการจัดหาดาวเทียมเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารของประเทศอย่างรวดเร็ว แต่ในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง และต้องทำการเช่าวงจรสื่อสารจากดาวเทียมของประเทศต่างๆ ทำให้ให้เกิดความไม่สะดวกและสูญเสียเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากการจัดสร้างดาวเทียมต้องใช้เงินลงทุนสูงมากจึงได้มีการเปิดประมูลเพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการใช้งบประมาณจากภาครัฐ และ บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาโอนไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)